Featured

ปัญญา

IMGT740101

ปัญญา“อยู่ใน จิต ไม่ออกไปไหนเลย ฟ้าผ่าไม่ได้ ลมพัดไม่ได้ หรือว่าแสงแดดจะทำให้มัวหมองก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น (จิต) เป็นที่เก็บที่ปลอดภัยที่สุด และปัญญาจะเจริญได้ สามารถติดตามไปได้ ในเมื่ออย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติเงินทองหรือแม้ร่างกายที่เคยเข้าใจว่าเป็นเรา ก็ติดตามไปไม่ได้“กิเลส”มากมาย เหนียวแน่น หนาแน่น และติดแน่นอยู่ใน(จิต)

Featured

น้ำใส – ใจจริง

น้ำ……..ใจคนล้นค่ากว่าสิ่งไหน
ใส……..กระจ่างสว่างไกลประดุจแสง
ใจ……..มนุษย์ผ่องผุดพิสุทธิแจ้ง
จริง…….เท็จไซร้แจ่มแจ้งแยกชั่วดี
มงคล…..ธรรมบำเพ็ญเห็นประจักษ์
ธรรม……ปฏิบัติเป็นหลักมั่นไม่ผันหนี
อภัย…….เถิดชั่ว – ช้าประดามีบาป……..กลับดีด้วยมีใจสำนึกตน คนเราเกิดมาย่อมนำพาชีวิตหมาย

มั่นสู่ความมั่นคง มนุษย์จึงดำรงชีพดำเนินชีวิตไปตามทิศทางที่นำไปสู่เป้าหมายแห่งความสุขสบาย คนเป็นอันมากมักนึกถึงแต่ความั่งมีเฉพาะภายนอกกายเป็นเหตุให้หลายต่อหลายครั้งคนเราจึงถลำออกนอกวิถีแห่งความดีงามด้วยหมายมั่นจะมากมี ชีวิตเลยต้องด้นรนไปตามยถาประดุจเศษสวะที่พัดพาไปเรื่อย ๆ ตามกระแสน้ำ ยากนักจะลอยไหลพัดทวนน้ำไปสู่ต้นสายอันบริสุทธิ์ – สะอาด เปรียบได้กับใจของคนเราเมื่อปลอ่ยให้ฟุ้งเฟื้อเห่อเหิมไปตามกระแสกเลสใจจึงไหลลิ่วไปสู่ความเวิ้งว้างอันหาฟากฝั่งไมพบหากในทางตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์รู้จักขัดขืนฝืนกระแสแห่งความอยากได้ใคร่มีแล้วน้ำใจฝืนทวนน้ำไปสู่จิตเดิมอันเป็นต้นธารแห่งกุศลใจของคนก็จะสะอาดใสเฉกเช่นเดียวกับตาน้ำอันบริสุทธิ์ผุดผ่องไร้ตะกอนอันขุ่นมัว อันเป็นวิถีกลับสู่ความดีงามของชีวิต น้ำที่ใสเหมือน

ใจที่จริง ย่อมสงบนิ่งสว่างกระจ่างแจ้งอยู่โดยเสมอ น้ำใส – ใจริงแม้ยากจะหาเจอในหมู่มวลมนุษย์ แต่ใช่ลำบากสุดเกินค้นพบ หากคนเรารู้จักลดเลิกต่ออกุศลกรรมแล้วสำนึกนำชีวิตไปพ้นไปจากความผิดพลาดแต่เก่าก่อน มองย้อนดูตนแจ้งกมล ในความผิดคิดชั่วที่เคยกระทำ มีความสำนึกผิดแล้วน้อมนำไปแก้ไขให้ถูกต้องมุ่งมองไปสู่ทางสายตรงของชีวิต ตั้งจิตปรารถณาแสวงหาน้ำใสใจริงในตัวเราเอง แสวงหาน้ำมิตรจากกัลญาสหาย อย่าได้กลับกลายน้ำใจไมตรีอันมีต่อกันแล้วพร้อมพากันไปสู่วิถี ทางแห่งความดี – ความงาม ความจริง ละทิ้งอกุศลแต่เก่าก่อนมุ่งหน้าสู่ครรลองแห่ง

คุณธรรม มีน้ำใจใสสว่างอยู่เป็นนิตย์แล้วเคียงคู่กับกัลยาณมิตร เพื่อพิชิตกำราบกิเลสบาปทั้งปวงเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งความร้างไร้ทุกข์ข่วงเข็ญ มีความสงบเย็นอยู่เป็นิจกาลขอมโนปณิธานนี้จงสัมฤทธิ์ – จงสัมฤธิ์ แ่ก่กุศลแห่งกิจมงคลพิธีอภัยบาปโดยทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ น้ำขุ่นใสมีตะกอนไม่นอนนิ่ง ใจหม่นมัวไม่เห็นจริงยิ่งเลือนหลง น้ำไม่ใสใจไม่แจ้งยิ่งต่ำลง อกุศลข้นขุ่นให้วุ่นวาย น้ำไม่ใส – ใจไม่จริงดุแปลกเปลี่ยน เหมือนมนุษย์ยังวนเวียนไม่ห่างหาย ในวัฏฏะแห่งการเกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย จากเริ่มต้นจรดปลายตะกอนคน รู้ทวนน้ำดำเนินย้อนคืนต้นธาร ณ.สถานที่ซึ่งเปี่ยมกุศล

คัดมาจากหนังสือ บรมธรรม ชุดคู่มือมนุษย์เพื่อการสร้างสรรค์ชีวิต

Occupations that should be avoided

สวัสดีสำหรับผู้มาเยือนปีนี้ 2566 – 2023 เวลาผ่านไปแต่ Covid 19 ยังไม่จบ

อาจมีอะไรที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นอีกม่มีใครสามารดคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ใกล้สงกรานต์ 10 วันอันตราย

อาชีพที่ควรงดเว้น คือ

  1. ค้าเนื้อสัตว์ และสัตว์มีชีวิต
  2. ค้ามนุษย์
  3. ค้าอาวุธ
  4. ค้ายาพิษ
  5. ค้าสุรา

คุณลักษณะและประโยชน์ ของศีล

  1. เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง อุปมาเสมือนแผ่นดิน ย่อมเป็นที่ตั้งของสรรพสิ่ง
    ทั้งหลายทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
  2. มีการไม่กระทาในสิ่งที่ผิดศีล เหมือนกับคนไข้ย่อมไม่รับประทานของที่แสลงโรค
  3. มีกาย วาจา ที่บริสุทธิ์ คือ ไม่ทาบาป ด้วยกาย วาจา
  4. มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ) เป็นต้นเหตุทาให้เกิดศีล
  5. ความไม่โกรธ (อโทสะ) ความไม่ประทุษร้ายจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการรักษาศีล
  6. ย่อมเป็นอุปนิสัยให้ได้มรรคเบื้องต่า 3 คือ โสดาป๎ตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค เมื่อเป็นมหากุศลที่มีทาน ศีล รองรับแล้ว จะเป็นอุปนิสัยต่ออรหัตตมรรค อรหัตตผลภาวนา คือ การทำกุศลอันประเสริฐให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือ ธรรมชาติใดที่ทาให้กุศลที่ประเสริฐเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วทาให้เจริญขึ้น ภาวนา แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ สมถภาวนา และวิป๎สสนาภาวนา สาหรับคาว่า ภาวนาในบุญกิริยาวัตถุ 10 นี้ หมายถึงมหากุศลจิตอย่างเดียว ได้แก่ การทำให้ป๎ญญาเกิดขึ้น เช่น การเรียน การสอนธรรมะ ตลอดจนการพิจารณาใคร่ครวญธรรมะต่าง ๆ จัดเข้าเป็นภาวนา ในบุญกิริยาวัตถุทั้งสิ้น คุณลักษณะและประโยชน์ของภาวนา
  7. ทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น จนถึงอรหัตตมรรคและอรหัตตผล เหมือนน้าย่อมทาให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม จนกระทั่งผลิดอกออกผล
  8. มีการประหาณทาลายบาปอกุศลที่เกิดขึ้น เหมือนเครื่องตัดหรือเครื่องประหาร
  9. เป็นสื่อนาเข้าสู่การเจริญสติป๎ฏฐานรูปนาม ให้ถึงซึ่งโลกุตตรธรรม
  10. มีการใส่ใจในอารมณ์ที่ถูกที่ควรไว้ก่อน ภาวนากุศลจึงจะเกิดขึ้นได้
  11. อปจายนะ อปจายนะ คือ การเคารพนอบน้อม ต่อบุคคลที่ควรเคารพนอบน้อม โดยมิได้หวังผลใดๆ ไม่หวังในลาภ ยศ สักการะแต่อย่างใด ถ้าการเคารพนอบน้อมโดยหวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ไม่ชื่อว่าเป็น อปจายนะ แต่เป็นมารยาสาไถย อปจายนะ มี 2 อย่าง คือ 1. สามัญอปจายนะ คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมต่อ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย

เว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการลักทรัพย์
เว้นจากการก้าวล่วงในพรหมจรรย์
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
เว้นจากการรับประทานอาหารในยามวิกาล
เว้นจากการตบแต่งเครื่องหอมเครื่องย้อม เครื่องทา
เว้นจากการนอน บนที่นอนอันสูงใหญ่
เว้นจากการฆ่าสัตว์
เว้นจากการลักทรัพย์ = สัมมากัมมันตะ
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
เว้นจากการพูดเท็จ
ว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคาหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
เว้นจากการประกอบอาชีพที่ขัดต่อการเจริญธรรม = สัมมาอาชีวะ

End then restart

DSCF0010

สรรพสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนอยู่ภายใต้กฏที่ว่า เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ – ดับไป เหมือนฤดูกาลที่แปรเปลี่ยน จากฤดูฝนสู่ฤดูหนาวจากฤดูร้อนสูฤดูใบใบผลิ หมุนเวียนผลัดเป็นอยู่เช่นนี้ไม่สิ้นสุดความจริงทุกอย่างมันสิ้นสุดไป นานแล้วสิ่งที่เห็นและทำอยู่คือสิ่งใหม่ คนที่ไม่รู้ความจริงมักโอดครวญว่าเมื่อไรเรื่องร้าย ๆจะสิ้นสุดลงซ่ะที เรื่องร้าย ๆ จะไม่มีวันสิ้นสุดถ้าเรายังไม่ยอมรับว่ามันได้เกิดขึ้นแล้ว เราต้องรู้ตัวว่า ตนเองกำลังคิด พูด – ทำสิ่งใหม่ ๆอยู่บางครั้งอาจคิดว่าตัวเองเดินย่ำอยู่กับที่แต่รอยเท้าที่เราเหยียบย่ำไป นั้น ไม่ใช่รอยเดิมแน่นอน ทุกสิ่ง – ทุกอย่างที่เรากำลังทำล้วนเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดชีวิตก็เหมือนเกมหมากรุก ตอนเริ่มเล่นเกมทั้ง 2 ฝ่ายมีหมากข้างละ 16 ตัวเท่ากัน ถ้ารู้ว่าเดินต่อไปยังไงก็ต้องแพ้ดันทุรังเล่นไปก็มีแต่เสียเวลา ถ้าเรายอมรับและตั้งกระดานใหม่เราจะได้หมากที่ถูกกินไปคืนมาทั้งหมดเหมือน กับถ้าเรายอมให้เรื่องบางเรื่องสิ้นสุดลงเราก็จะได้โอกาสทั้งหมดกลับคืนมา เพื่อเริ่มต้นสู้ใหม่อีกครั้งรอยอดีตเหมือนจุดดำบนกระดาษขาว ยิ่งพยายามลบกระดาษก็จะยิ่งขาดและใช้

ประโยชน์อะไรไม่ได้อีก ลองใช้ปากกาวงเล็ก ๆ (๐)ลงไปบนกระดาษสีขาวแล้วลองลบออกดูสิ ไม่ว่าเราจะใช้ความพยายามแค่ไหนก็ลบออกไม่ได้ในเมื่อลบออกไม่ได้แล้วจะทำ อย่างไร ลองลากเส้นตรงขึ้นไปจากวงกลมที่เราวาดไว้ในกระดาษแล้วตวัดโค้งไปข้างหน้าดู สิ เราจะได้ตัว ว.แหวน โดยไม่ต้องวาดหัวตัว – ว ซ้ำเข้าไปอีกจากนั้นก็เติมสระ – า อ่านได้ว่าวาเมื่อเติม – ง . – งู เข้าไปอีกจะอ่านได้ว่า”วาง”กลายเป็นแก่นธรรมในพระพุทธศาสนาไปเลย เห็นมั๊ยว่า ? ทุกอย่างมันเริ่มจากรอยตำหนิในอดีตที่ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร เป็นเพียงรอยสกปรกที่ต้องลบทิ้งเท่านั้นแต่ถ้าหากเรารู้จักเติมอะไรลงไป อย่างสร้างสรรค์แล้วก็จะได้สิ่งใหม่ทีดีกว่าเดิมเสมอ เหมือนเรากินข้ามาตังแต่เกิดแต่ทำไมเราไม่เบื่อข้าวเพราะข้าวที่เราตกกิน เข้าปากในแต่ละมื้อนั้นไม่ใช่ข้าวคำเดิม โลกก็มีแต่กลางวันและกลางคืนแต่เราไม่รู้สึกเบื่อวัน – คืนเพราะวันคืนล้วนเป็นวันใหม่ ฟ้าใหม่ – เมฆกลุ่มใหม่ กลิ่นเย็นชื่นของอายหมอกยามเช้าช่วยกระตุ้นเส้นประสาทให้ตื่นขึ้นมาเตียม พร้อมสำหรับรับมือกับเรื่อง

น่าตื่นเต้นในแต่ละวันได้เสมอความจริง ทุกอย่างมันจบไปนานแล้วตัวเรานั่นแหละไม่ยอมให้มันจบชอบขุดคุ้ยเรื่องราว เดิม ๆขึ้นมาทำร้ายจิตใจตัวเองครั้งแล้ว – ครั้งเล่า เรื่องราวร้าย ๆ ทิ่มแทงเราแค่ครั้งเดียวแต่เรานั่นแหละที่ใช้มีดเล่มเดิมแทงตัวเองซ้ำ ๆจนเจ็บระบมไปทั่วเรือนใจเพียงแค่ยอมรับและเริ่มต้น เราก็จะได้โอกาสที่เคยสูญเสียไปกลับคืนมา ถอนมีดที่ปักอกออกเสียแล้วโยนทิ้งไปยอมเจ็บอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้ายหลาย คนเคยเจ็บปวดกับการแข่งขันเจ็บปวดกับเส้นชัย เส้นชัยอาจเป็นฝันร้ายสำหรับคนที่วิ่งเข้ามาเป็นคนสุดท้ายและอาจเป็นฝันอัน แสนหวานที่ควรจดจำสำหรับคนวิ่งเข้ามาเป็นคนแรก แต่หากชีวิตไม่มีเส้นชัยไว้คอยตัดสิน เราก็คงไม่รู้ว่าต้องวิ่งอีกไกลแค่ไหน แม่ว่าเราไม่ได้วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกแต่ สถิติของเราอาจไม่ดีสำหรับคนอื่นแต่มันอาจดีกว่าทุกครั้ง(ที่เราเคยทำได้)ผล งานเพียงเท่านี้เราจะอนุญาตให้ตัวเองเป็นผู้ชนะได้มั๊ยล่ะ?
คัดมาจากหนังสือ กระเป๋า สติ รจนาโดย….โรมรันต์ เสวิคาร

เอกพุทธยาน

มัชฌิมประภาสปุญสถาน

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา – มารดา ครูบาอาจารย์ – ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท – มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา – นาคี เหล่าวิญญา – หมู่เปรต – อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ

New Normal Life 2022 – 2565

ที่ MBK ภาพแรกถ่ายปี 2012 หรือ พ.ศ 2555
ภาพที่ 2 ถ่ายวันตรุษจีนพอดี
คือ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564
วันเที่ยว ปี 2021 หรือ พ.ศ 2564 ยุคที่ Covid – 19
ระบาดรอบ 2 การระบาดรอบนี้ไม่ธรรมดา
เล่นเอาเศรษฐกิจทรุดไม่ฟื้นเลยห่างกัน 9 ปี
ห้างไม่มีคนเดินเกิดอะไรขึ้นกับกะลาแลนด์
ถ่ายมุมเดียวกันต่างกันที่เวลา
New Normal 2022 – 2565

พระในบ้าน

Happy way

IMG_0000000103320
วีถีแห่งความผาสุข
20220125_084945

กิเลส อยากได้ อยากมี อยากเป็น

20220125_084143
Window in temple  1900

P_00109003909012020

รอยเท้าโค

ความจริงเนื้อหาของหนังสือยาวมากจึงคัดลอดส่วนหนึ่งมาเท่านั้นถ้าให้มานั่งพิพม์ทั้งเล่มคงไม่ไหวและยังมีหนังสือของสมเด็จพระสังราชอีกหลายเล่มเช่น “พระธรรมเทศนาในพระราชสำนัก”ซึ่งข้าพเจ้ามีอยู่ถ้ามีโอกาสเหมาะ ๆ(บางครั้ง)จะใช้ความพยายามพิมพ์คัดลอกออกามจากในหนังสือ เพราะว่าการพิมพ์ออกมาจากในหนังสือไม่ใช่เรื่อง่าย ๆ เลยต้องใช้เวลานานมากบางที่ต้องใช้เวลาหลายวันเลยทีเดียว แต่ก็จะพยายามหาเนื้อหาดี ๆ มาจากในหนังสือเพราะว่าที่บ้านมีหนังสือธรรมมะเยอะมากพยายามอ่านวันละ 1 เล่ม
ใช้เวลาสะสมมาตลอดชีวิตเมื่อ(บางครั้ง)สิ้นชีวิตลงไปแล้วแล้วคงไม่มีผู้สืบทอดหนังสือที่มีอยู่เหล่านี้

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้วจะพูดหรือจะทำทุกข์ย่อมติดตามผู้นั้นไปเพราะเหตุนั้น เหมือนอย่างล้อไปตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปฉะนั้นนี้เป็นคำแปลพระพุทธภาษิตในพระธรรมบทคาถาต้น กับอีกบทหนึ่งในลำดับต่อไปว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้ามีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้วจะพูดหรือทำสุขย่อมติดตามผู้นั้นไปเพราะเหตุนั้นเหมือนอย่างเงาไม่ละตัวฉะนั้น


บุคคลผู้มีใจร้ายคือบุคคลผู้มากด้วย กิเลส บุคคลผู้มีใจผ่องใสคือบุคคลผู้ไกลกิเลสหรือมีกิเลสเบาบาง พระพุทธภาษิตข้างต้นมีความหมายง่าย ๆ ว่า บุคคลผู้มากด้วย กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะคิดจะพูดจะทำอะไรย่อมเป็นเหตุให้ตนเองเป็นทุกข์ ส่วนบุคคลผู้ไกลกิเลสหรือมีกิเลสบางเบา คือ ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือมีเพียงเบาบาง จะคิดจะพูดจะทำอะไร ย่อมเป็นเหตุให้ตนเองเป็นสุข
ดังนี้ย่อมแสดงว่า ใจสำคัญที่สุด ความสุขความทุกข์ของทุกคนเกิดจากใจ ใจดีทำให้เกิดสุข ใจไม่ดีทำให้เกิดทุกข์ ความสุขความทุกข์ของทุกคนไม่ได้เกิดจากภายนอก คือ ไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่น ไม่ได้เกิดจากเรื่องภายนอก คือ ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม สามัญชนมักจะเข้าใจว่าความสุขความทุกข์ของตนเกิดจากภายนอก เกิดเพราะบุคคลอื่นบ้างเกิดเพราะเหตุการณ์ทั้งหลายบ้าง โดยเฉพาะความทุกข์ สามัญชนมักจะหลงเข้าใจผิดว่าเกิดขึ้นแก่ตนเพราะผู้อื่นเป็นเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะใจตนเป็นเหตุสำคัญเมื่อไม่รู้เหตุที่แท้จริงของความ ทุกข์ จึงแก้ความทุกข์ไม่ได้ เพราะการแก้โรคทุกชนิดต้องแก้ที่เหตุ คือ แก้ให้ถูกตรงเหตุจึงจะแก้ได้ โรคจึงจะหาย เช่น ผู้ที่จับไข้ มีอาการหนาวสั่น คิดว่าเหตุของอาการหนาวสั่นนั้นเกิดจากแรงลม จึงเข้าห้องปิดประตูหน้าต่างหมด มิได้ใช้ยาแก้ไข้ อาการหนาวสั่นก็หายไม่ได้ ต่อเมื่อใดรู้ว่าอาการหนาวสั่นนั้นเกิดจากความไข้ ใช้ยาแก้ไข้แก้ให้ถูกกับโรค เรียกว่าแก้ให้ถูกที่เหตุ จึงจะหายแต่ไหนแต่ไรมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ความทุกข์ของบุคคลผู้มีใจร้ายมีอยู่มากมาย และความสุขของบุคคลผู้มีใจผ่องใสก็มีอยู่พิจารณาพระพุทธภาษิตข้าง ต้นที่ว่า ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว จะพูดหรือจะทำ ทุกข์ย่อมติดตามเขาไปเหมือนล้อตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูดหรือจะทำ สุขย่อมติดตามเขาไปเหมือนอย่างเงาตามตัว ย่อมจะสามารถรู้จักตัวเองได้ตามความเป็นจริง คือ รู้จักว่าตนเป็นผู้มีใจร้ายหรือมีใจผ่องใส ถ้าพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว หรือเพียงคิดแล้ว เกิดความทุกข์ ก็รู้จักตนเองได้ว่าเป็นผู้มีใจร้ายถ้าพูดไปแล้ว ทำไปแล้ว หรือเพียงคิดแล้ว เกิดความทุกข์ ก็รู้จักตนเองได้ว่าเป็นผู้มีใจผ่องใส
แม้ไม่ปรารถนาความทุกข์ แต่ปรารถนาความสุข ก็ต้องพยายามอบรมตนเองให้พ้นจากความเป็นผู้มีใจร้าย กลายมาเป็นผู้มีใจผ่องใส หรือใจดีนั่นเอง


ผู้ใดมีความโลภในทรัพย์ สิ่งของของใครก็ตาม มีความโกรธแค้นขุ่นเคืองอาฆาตพยาบาทในใครก็ตาม มีความหลงผิดในเรื่องหนึ่งใดก็ตามผู้นั้นจักเป็นผู้ได้รับทุกข์ด้วยตนเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้อื่นที่ต้องสูญทรัพย์สิ่งของ เพราะความโลภของผู้นั้นก็ตาม ต้องถูกโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทปองร้ายเพราะผู้นั้นก็ตาม หรือต้องได้รับความหลงผิดของผู้นั้นก็ตาม ยังพอสามารถหลีกเลี่ยงความทุกข์ที่ผู้นั้นพยายามก่อให้ได้บ้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า จิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้ การฝึกจิตจึงเป็นการดี ปกตินั้นจิตเป็นสิ่งที่ข่มยาก แต่ก็ข่มได้ เบา ไว อ่อนไหวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ง่าย แต่ด้วยการข่มการฝึกก็สามารถทำให้หนักแน่นมั่นคงสม่ำเสมอได้ และแม้มีปกติตกไปตามใคร่ คือยินดีพอใจในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ แต่ด้วยการข่มการ ฝึกก็สามารถทำให้ละความยินดีพอใจนั้นได้ เมื่อจิตได้รับการข่มการฝึกแล้วให้ไม่อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ต่าง ๆ โดยง่าย และให้ละความยินดีพอใจในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจได้ จิตก็จะเป็นจิตที่เป็นสุข และนี้แลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

จิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้


ที่กล่าวว่า จิตไว หรือเบา หรืออ่อนไหว หมายถึงจิตเปลี่ยนแปลงง่าย เกิดดับเร็ว เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางตาเช่นรูป เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางหูเช่นเสียง เดี๋ยวไปอยู่กับอารมณ์ทางจมูกเช่นกลิ่น เป็นต้นว่า เดี๋ยวเห็นรูป ปรุงว่าสวยหรือไม่สวย ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้ยินเสียง ปรุงว่าไพเราะหรือไม่ไพเราะ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ เดี๋ยวไปได้กลิ่น ปรุงว่าหอมหรือไม่หอม ชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตที่ไปอยู่กับอารมณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้วเป็นต้น เป็นไปอย่างรวดเร็ว ว่องไว จนปกติสามัญชนยากจะจับจะตามจิตของตนให้ทันได้ หรือเรียกว่าสามัญชนตามไม่ทันรู้อาการแห่งจิตของตน เพราะความเบา ไว ดังกล่าวแล้วอย่างไรก็ตาม ด้วยการฝึกโดยอาศัยสติตามรู้อาการของจิต ก็จะสามารถข่มจิตไว้ได้ให้หนักแน่นมั่นคง ไม่เบา ไม่ไว ไม่รับอารมณ์ต่างๆ โดยง่าย
ที่กล่าวว่าจิตมีปกติตกไปตามใคร่ หมายถึง จิตของสามัญชนมักจะหมกมุ่นอยู่ในกามคุณารมณ์คืออารมณ์อันเป็นที่น่าใคร่น่า ปรารถนาพอใจทั้งปวงจนยากที่จะถอนเสียได้ แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกจิตโดยอาศัยสติและปัญญาประกอบกันสม่ำเสมอ ก็จะสามารถทำให้จิตละอารมณ์อันเป็นที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจได้อันสติและปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญที่จำเป็นในการข่มจิตฝึกจิตปราศจากสติและปัญญาแล้วการข่มจิตจะไม่เกิดผลจิตนั้นข่มยาก พระพุทธองค์ก็ทรง

กล่าวไว้แล้ว จิตที่ข่มยากจึงน่าเปรียบได้กับคนดื้อเกเรซึ่งเคารพเหตุผล เพราะคนดื้อเกเรซึ่งเคารพเหตุผลนั้นเป็นคนที่อาจเอาชนะให้หายดื้อหายเกเรได้ ถ้าสามารถหาเหตุผลมาทำให้ยอมจำนนให้ยอมเชื่อว่า ความดื้อเกเรทั้งหลายของเขานั้นไม่ดีอย่างไร จิตที่ข่มยากก็เช่นกันแม้อบรมสติปัญญาให้เกิดขึ้นเพียงพอจนสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีอะไรควรอะไรไม่ควรได้แล้ว จิตก็จะละสิ่งที่ผิดที่ชั่วที่ไม่ควรได้ เรียกว่าสติและปัญญาสามารถข่มจิตไว้ได้ ไม่ให้กวัดแกว่งดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอ ใจทั้งหลาย โดยไม่คำนึงถึงความดีไม่ดี ควรไม่ควรเสียเลยจิตที่ข่มได้แล้ว หยุดกวัดแกว่งวุ่นวายแล้ว หยุดตกอยู่ใต้อำนาจความปรารถนาพอใจแล้ว เป็นจิตที่นำสุขมาให้จริงๆลองเปรียบเทียบดูก็จะเข้าใจพอสมควรผู้ที่ปกติวุ่นวาย ไปนั่นมานี่อยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน จะเป็นสุขได้อย่างไรเพราะความยุ่งความเหน็ดเหนื่อยจิตที่เบาไวก็เช่นกัน ย่อมเหน็ดเหนื่อยยุ่งยากหาความสุขไม่ได้ ส่วนจิตที่ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจความยินดีพอใจรักใคร่ในสิ่งที่น่าใคร่น่า ปรารถนาพอใจ เหมือนผู้เป็นอิสระ มีเสรีภาพ ไม่ถูกจองจำด้วยเครื่องพันธนาการ คือความติดอยู่ในอารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจย่อมเป็นสุข

2011